Journey
Sakon Indigo
May 17, 2014
Trip to Sakon Nakhon, a perfect place to study indigo dye in Thailand!

ทริปนี้เดินทางไปที่จังหวัดสกลนคร ด้วยการเชิญชวนของรุ่นพี่ ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการย้อมคราม เราจึงได้มีโอกาสมาถึงแหล่งจริงๆ และได้รับความช่วยเหลือ และการดูแลจากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ที่เป็นคนสกลนคร แต่เราคงจะไม่เล่าว่าก่อหม้อยังไง เพราะหาดูก็มีหลายแหล่งที่แนะนำสูตร และแต่ละสูตรก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งการย้อมนั้นขึ้นอยู่กับความถนัดและประสบการณ์ล้วนๆ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับคอนเท้นของงานเราที่อยากจะพูด ก็ทำให้ส่วนผสมแตกต่างกันแล้ว
ที่สกลฯถึงแม้จะเป็นอีสาน แต่ก็มีความเขียวอยู่มากๆจนเราตกใจ ที่แรกที่ไปก็คือ บ้านแม่ฑีตา ทุกคนก็น่าจะรู้จักกันดี เพราะถือว่าเป็นแบรนด์ที่รุ่นลูกหลานมาทำให้เห็นภาพใหม่ๆของการย้อมคราม และเราก็ได้มีโอกาสได้มาพักที่บ้านของแม่จิ๋ว ที่มีความกรุณาให้เรามานอน และเลี้ยงดูเราอย่างดีเลย 🙂
แม่จิ๋วนั้นคอยให้คำแนะนำเราต่างๆ พาเราไปดูที่ไร่คราม เขียว + ชุ่มชื้นมากๆ
เจอแมลงครามด้วย สีสวยมากๆ ไม่คิดว่าจะเป็นตัวแบบนี้
เราไปมาหลายที่มากๆ อาจจะเล่าสลับไปมา จาก process ในการทอผ้ามากกว่าตาม timeline นะ
เรามาดูที่เค้าทำฝ้ายเข็นมือคือการปั่นจากกองฝ้ายดิบๆมาเลย และใช้เครื่องค่อยๆจับให้เป็นเส้นออกมาด้วยมือ ต้องคอยทำด้วยความระมัดระวัง และความชำนาญ ไม่งั้นเส้นก็จะขาด หรือมีความหนาไม่สม่ำเสมอกัน แต่บางคนเค้าก็ชอบเพราะว่ามันดู hand quality สุดๆ แต่ส่วนตัว เราคิดว่าความชำนาญที่ทำให้เส้นมีความสม่ำเสมอกันถึงจะเป็น master of artisan quality จริงๆมากกว่า
ไม่ใช่ว่าทุกเจ้าจะเป็นฝ้ายเข็นมือนะ เพราะฝ้ายก็มีจำกัด เพราะฉะนั้นบางที่ก็ยังสั่งเป็นฝ้ายโรงงานมาทออยู่
พอได้ฝ้ายมาแล้วก็ถึงจะเริ่มต้นในการย้อมครามได้ ซึ่งการที่เรามาถึงที่นี่ก็เพื่อที่จะมาดูการทำครามจากจุดเริ่มต้นจริงๆ คือก่อหม้อครามจากธรรมชาติ เพราะในบางที่นั้นก็ได้ใช้สีเคมี แต่มาบอกว่าเป็นครามธรรมชาติ ซึ่งบางคนก็อาจะไม่ทราบ และก็มีเทคนิคหลายอย่างในการย้อมครามแบบไม่จริงใจ เช่น ย้อมเคมี และรอบสุดท้ายค่อยย้อมธรรมชาติก็มี ก็เพื่อที่ว่าจะได้กลิ่นของครามอยู่ แต่จริงๆเป็นสีเคมี ก็มีเทคนิคที่ต่างๆกันไปในการขายของ เรามองว่า มันอาจะเป็นหน้าที่ของนักออกแบบเช่นเดียวกัน ที่จะตัดสินใจทำผลงานมาจากครามธรรมชาติ หรือสีเคมี ก็ตาม ที่ให้คุณสมบัติที่เหมาะสมกับผลงาน และปัจจัยด้านราคาที่พอดี งานออกแบบที่ไม่ดี ก็คืองานออกแบบที่ไม่ดี ไม่ว่าจะย้อมธรรมชาติ หรือสีเคมีก็ตาม
กลับมาที่การก่อหม้อครามจากธรรมชาติ ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการหมักใบครามด้วยส่วนผสมต่างๆ มันคือ Chemistry อย่างนึงเลยหลักการของมันคือต้องกะเกณฑ์เรื่องกรด-ด่างให้ PH ถูกต้อง คนที่นี่ทรีทครามก็เหมือนสิ่งมีชีวิต มีการให้อาหาร ดูแลหม้อ ให้กรด ให้เบสจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นมะขาม หรือปูนขาว แต่การย้อมครามก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องก่อหม้อเอง เพราะบางแห่งด้วยปัจจัยหลายๆอย่างไม่สามารถก่อหม้อเองได้ เค้าก็จะซื้อเป็นครามก้อนมาหมักต่อ ก็จะทำให้ง่ายขึ้นในการใช้งาน ส่วนตัวเราคิดว่า ไม่ใช่ทุกคนทีจะสามารถก่อหม้อเองได้ ก็ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน หากเราเป็นนักออกแบบสายคอนเทม การหาคอนเท้นใหม่ๆในกับงานที่ไม่ใช่แค่เรื่องย้อมธรรมชาติ ย่อมน่าสนใจ และทำให้แตกต่างมากกว่ามาเสียเวลากับการก่อหม้อ เพื่อจุดประสงค์แค่ย้อมธรรมชาตินั้นอาจจะทำให้งานไม่มีมิติ
นอกจากเราจะไปย้อมคราม ก็ได้มาดูกลุ่มแม่บ้านที่เน้นการมัดหมี่
กลุ่มที่สกลนครส่วนมากก็ยังก่อหม้อเอง เพราะจังหวัดนี้มี potential ในการปลูกคราม และก่อหม้อมากกว่าที่อื่น
สุดท้ายก็ได้มาเยี่ยมร้าน ครามทอง ของพี่แมน ที่ทำแบรนด์ Mancraft พี่แมนทำร้านและสินค้าในร้านออกมาได้กลมกล่อมมากๆ สำหรับเราคือ ความแตกต่างที่ไม่ต้องดูโอทอปมากเกินไป สามารถแมชกับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆได้ พรีเซ้นเทชันในร้านก็น่าสนใจมาก มีการทำ styling ที่ดี
ผ้าที่เรารู้สึกชอบที่สุดก็คือ ผ้าย้อมครามกลิ่นสมุนไพร เราได้ซื้อมาผืนนึงเป็นกลิ่นตะไคร้ ซึ่งรู้สึกว่ามัน innovative มากๆ
ในการไปดูครามในครั้งนี้ บวกกับการได้ศึกษาการย้อมครามในต่างประเทศด้วยก็เห็นว่า ในฐานะนักออกแบบเราอาจจะต้องคิดให้มากกว่าไว้ก่อน เพราะหากจะทำอะไรที่มีคนทำแล้วเพื่อไปแชร์ตลาดก็อาจไม่มีประโยชน์ใดๆที่ทำขึ้นมาอีก แต่ว่าหากเราหาคอนเท้นในเรื่องที่จะทำให้แตกต่าง แม้แค่ใน aesthetic แค่นั้นก็อาจเพียงพอแล้ว ในเรื่องนี้อาจจะต้องมี discussion อีกมาก